Search
Close this search box.

เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดอบรม “หลักสูตร Webometrics Ranking of World Universities” ให้แก่ คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค

ทั้งนี้ ภายในการอบรมได้มีการให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics Ranking of World University) เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยพัฒนาโดยกลุ่มนักวิจัยไซเบอร์แลป สภาแห่งชาติประเทศสเปน ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงปริมาณเกี่ยวกับกระบวนการสร้างเนื้อหาบนเว็บ ภายใต้หลักการที่เชื่อว่า “เว็บไซต์เป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ (Web Publications)” ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลกและเผยแพร่การจัดอันดับผ่านทางเว็บที่ http://www.webometrics.info ซึ่งมีการแสดงผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทุกเดือนมกราคม และเดือนกรกฎาคมของทุกปี โดยมีจุดประสงค์จัดอันดับเว็บที่มีการเผยแพรผลงานทางวิชาการอิเล็กทรอนิกส์และกิจกรรมผ่านทางอินเทอร์เน็ต เพื่อสนับสนนการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง และส่งเสริมการเข้าถึงความรู้ทางวิชาการที่ผลิตโดยมหาวิทยาลัย เว็บโอเมตริกซ์เปนความรู้ทางวิทยาศาสตร์สะท้อนการนําเสนอผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัย บทความวิจัย บทความวิชาการ วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย ผ่านเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย การเผยแพร่ ครอบคลุมถึงการเผยแพร่ เอกสารประกอบการสอน สื่อการสอน เอกสารจากการสัมมนา ตลอดจนข้อมูลทั่วไป ของมหาวิทยาลัย คณะ ภาควิชา สาขาวิชา กลุ่มวิจัย หนวยงานบริการ หรือแม้กระทั่งเว็บไซต์อาจารย์แต่ละท่าน ซึ่งจะทําให้หน่วยงานทั้งภาคเอกชน ภาครัฐ สามารถตรวจสอบและเข้าถึงแหล่งความรู้ที่อยู่ในหาวิทยาลัยได้ง่ายขึ้น
ตัวชี้วัด(Web Indicators) การจัดอันดับของเว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics)

  1. PRESENCE (20%) เป็นการวัดการปรากฏตัวบนอินเทอร์เน็ต คือจํานวนหน้าเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยที่นับผ่านเสริ์ชเอนจิน (Search Engines) (วัดด้วย กูเกิล (Google) )
  2. IMPACT (50%) จํานวนการอ้างอิงเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยจากภายนอกที่ลิงค์(lick) มาเว็บไซต์มหาวิทยาลัย (วัดด้วย Majestic SEO and ahrefs)
  3. OPENNESS (15%) จํานวนไฟล์เอกสาร (.pdf, .doc, .docx, .ppt) ที่นําเสนอบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยและหน่วยงานภายใน และอ้างอิงได้ นับผ่านการค้นหาข้อมูลในส่วนของงานวิชาการผ่านกูเกิลสกอล่า (Google Scholar) (วัดด้วย Google Scholar)
  4. EXCELLENCE (15%) จํานวนบทความวิชาการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ academic papers published in high impact international journals

โดยมีอาจารย์ และเจ้าหน้าของมหาวิทยาลัย ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเข้าร่วมกว่า 76 รูป/คน ออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom Meeting มีพระมหาศรีทนต์ สมจาโร ผู้อำนวยการส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นประธานเปิดการอบรม และมีนายนพดล เพ็ญประชุม นักวิชาการคอมพิวเตอร์ กลุ่มงานเทคโนโลยีการศึกษา ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้